วัสดุกระจก 8 ประเภท การใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
“กระจก” เป็นหนึ่งวัสดุที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก แต่รู้ไหมว่า ประเภทกระจกนั้นแบ่งออกเป็นชนิดไหนบ้างนะ ใช้งานแตกต่างความเหมาะสมกันไป และมีข้อดี อย่างไรกันบ้าง
วันนี้จะพาไปรู้จักกับชนิดกระจกต่างๆ 8 ชนิดด้วยกัน ไปดูกันเลย

"กระจกเทมเปอร์" เป็นกระจกนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูงอย่างดี มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่แตกหักได้ง่าย สามารถรับแรงกระแทกได้ดี และทนต่ออุณหภูมิทั้งร้อนและยาว เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องเจอความร้อนจัดๆ หรือเย็นจัด ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในบ้านก็จะเป็นพวกท็อปโต๊ะ กระจกกั้นห้อง หรือตู้อาบน้ำเป็นต้น

"กระจกสีตัดแสง" เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสิ่งที่ช่วยลดความร้อนได้นั้น
มาจากความเข้มของสีกระจก เพราะถ้ากระจกมีสีเข้มมากเท่าไหร่นั้น สามารถลดความจ้าของแสงแดดได้
แต่ไม่สามารถช่วยตัดคลื่นรังสีความร้อนได้ กระจกประเภทนี้ราคาจะสูงกว่ากระจกใส

"กระจกใส" เป็นกระจกที่มีรอยต่อระหว่างกระจกน้อย และยังอมความร้อนได้น้อย ทนความร้อนนานๆมากไม่ได้ และไม่เหมาะกับการนำไปใช้กับอาคารหรือที่อยู่อาศัย ที่นิยมใช้จะเป็นพวกตู้โชว์ display ต่างๆ

"กระจกลามิเนต" เป็นกระจกนิรภัยที่เมื่อเวลากระจกแตกแล้วเศษกระจกต่างๆจะยึดติดกันอยู่ โดยจะไม่ล่วงหล่น ซึ่งตัวชั้นฟิล์มนั้นยังยึดเกราะกระจกอยู่ มีการนำกระจกนิรภัยและกระจกธรรมดา นำมาประกบติดกัน จำนวน 2 แผ้น หรือมากกว่านั้น
โดยพอมาติดกันแล้วจะมีชั้นฟิล์มคั่นระหว่างกลางของกระจก

"กระจก 2 ชั้น" ที่นำมาประกบกัน โดยจะมีสารดูดความชื้นแล้วใส่ฉนวน เข้าไป เช่นอากาศแห้งหรือก๊าซเฉื่อย ไว้ด้านใน เพื่อการเก็บรักษาอุณหภูมิภายใน ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้ถึง 95 – 98%

"กระจกเงา" นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก โดยนำกระจกใสและกระจกสีมาฉาบผิวด้านหนึ่งด้วยโลหะเงิน
แล้วเคลือบด้วยสีและเซลแล็กอีกชั้นนึง เพื่อให้ไม่เกิดรอยขีดข่วน หรือหลุดหล่อนต่างๆของโลหะเงิน
ซึ่งเหมาะสำหรับกับการตกแต่งภายในบ้าน และยังมีให้เลือกหลากหลายสี และใช้กรุผนังเพื่อทำให้ห้องดูกว้างขึ้นอีกด้วย

"กระจกเสริมลวด" มีการใส่แผงตาข่ายลวดลงในกระจกตอกขณะกระจกกำลังถูกหลอมเหลว
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระจก โดยจะแบ่งตามลวดตาข่าย ไม่ว่าจะเป็นลายข้าวหลามตัด ลายสี่เหลี่ยม
ลายหกเหลี่ยม ลายแนวตั้งเป็นต้น

"Energy Transparent Glass หรือ กระจกใสพลังงานแสงอาทิตย์"
คิดค้นโดยประเทศเกาหลี โดยมีการใช้วัสดุหลักคือกระจกใสและมีเส้นผ้าศูนย์กลางอยู่ที่ 100 ไมโครเมตร มีความหนาประมาณ 200 ไมโครเมตร สามารถนำมาใช้ง่ายกว่าแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดทึบด้วยสีที่ใส และไม่ดำทึบเกินไป สามารถดูดซับ และเปลี่ยนแปลงแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานได้

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Line: https://bit.ly/2BANcKA
Tel. 097-153-5031
Credit ภาพ : Pinterest
Comments